วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาพยนตร์ 3D

    ช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีภาพ 3D กำลังที่จะกลับมาฮิตในบ้านเรารวมถึงทั่วทั้งโลกอีกครั้งนึง เหตุนึงก็เพราะภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอย่าง Avatar ได้พาผู้ชมไปสู่โลกแห่งใหม่แบบที่ไม่เคยมีภาพยนตร์เรื่องไหนเคยทำได้มาก่อน ด้วยเทคโนโลยีภาพ 3D ที่สมจริงเหมือนกับว่าเราได้ไปอยู่บนดาวแพนโดร่ากับตัวละครด้วยก็คงจะไม่พูดเกินเลยไปนัก

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า กับเทคโนโลยี 3D ที่เป็นนิยมกันในปัจจุบันและอนาคต

Anaglyph

จริงๆ เทคโนโลยี 3D นั้นมีมานานแล้วนับร้อยปี โดยที่ในยุคแรกๆ เราจะเรียกการฉายภาพ 3D แบบดั้งเดิมนี้ว่า Anaglyph หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในรูปแบบของแว่นตาสีแดงและสีน้ำเงิน


โดยหลักการของภาพ 3D แบบนี้คือการใช้ฉายภาพสองภาพซ้อนลงไปบนเฟรมเดียวกัน โดยที่ภาพสองภาพจะมีลักษณะของสีที่แตกต่างคือสีแดง และสีน้ำเงิน (รวมถึงมุมมองที่เหลื่อมกันเล็กน้อยด้วย) ส่วนแว่นตัวนี้ก็จะมีหน้านี้คือการหักล้างสีที่ไม่ตรงกับฟิลเตอร์สีนั้นๆ ออกไปเช่นสีแดง ก็จะรับเพียงสีแดงเข้ามา (คือแสดงเป็นภาพ) ส่วนสีที่เหลือจะกลายเป็นสีดำ อีกข้างก็เช่นเดียวกัน ข้อเสียคือสีจะค่อนข้างซีดและไม่สดใสเท่าที่ควร ข้อดีคือราคาถูก (แว่นประเภทนี้ราคาไม่กี่บาทเท่านั้นเอง)
 

Polarized 3D

ต่อมาได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยการฉายภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกันเหมือนเดิม แต่รอบนี้ภาพที่ฉายออกมาจะเป็นภาพที่ผ่านฟิลเตอร์ Polarize ที่แตกต่างกัน ภาพที่ได้ก็จะเหลื่อมกันเหมือนเดิม (หากไม่ได้มองผ่านแว่น) แต่แว่นตัวนี้จะพิเศษหน่อยคือด้านหนึ่งจะกรองคลื่นแสงเฉพาะแนวนอน ส่วนอีกด้านก็แนวตั้งเท่านั้น

รูปแบบการฉายแบบ Polarized นี่คือเทคโนโลยีที่อยู่ในยุคปัจจุบัน Avatar ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน รวมถึงทีวี 3D ที่ออกวางจำหน่ายในปัจจุบันด้วย แต่รูปแบบของการฉายจะมีอีกสองแบบแยกย่อยออกไปอีกคือ
Linear Polarization: นี่เป็นรูปแบบปัจจุบันที่ใช้กันเยอะ คือการกรองในแนวตั้ง และแนวนอน ข้อเสียคือหากคุณหมุนหัวหรือนั่งไม่ได้ระดับ ภาพจะแยกออกกันในทันที (เหตุผลที่ควรนั่งในโรงและมองให้ตรงฉากกับจอ และอยู่ให้นิ่ง ก็เพราะใช้แว่นแบบนี้) ข้อดีคือราคาไม่แพงมาก
Circular Polarization: รูปแบบคล้ายด้าานบน แต่ฟิลเตอร์จะกรองแสงแบบตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มแทน ข้อดีของแบบนี้คือสามารถหันหัวไปมาได้

Parallax Barrier

ปัจจุบันเรายังไม่ค่อยเห็นเทคนิคแบบนี้เท่าไหร่นัก แต่เทคนิคแบบนี้ข้อดีคือไม่ต้องใช้แว่นใดๆ ในการมองเลย เป็นเทคโนโลยีที่จะใช้ในทีวียุคต่อไป ใช้การฉายภาพสองเฟรมพร้อมกันลงบนจอ และมีฟิลเตอร์กรองแสงบนหน้าจอให้เข้าลูกกะตาของเราสองข้างแทน (แสงพุ่งเข้าตาแบบตรงๆ ชนิดไม่ต้องใช้แว่น) วิธีนี้เวิร์คสุดๆ แต่ยังเป็นอนาคตอีกยาวไกลที่ต้องพัฒนากันต่อ (ผมว่าจอ 3D ตามห้างดังๆ ก็อาจใช้หลักการเดียวกันกับแบบนี้นั่นละครับ)

รูปแบบที่กล่าวมาทั้งสามแบบ มีจุดประสงค์เดียวกันทั้งหมดคือทำให้เราได้รับภาพที่แตกต่างกันสองภาพสำหรับดวงตาของเรา เพราะการมองภาพให้ได้เป็น 3D นั้นจำเป็นต้องได้ภาพที่มีมุมมองสำหรับลูกตาสองข้างของเรา เราสามารถทดสอบรูปแบบของภาพที่จะเข้าลูกตาเราทั้งสองข้างได้เองโดยการหลับตาเพียงข้างเดียวและสลับซ้ายขวาดู ภาพที่ได้จะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยจากตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้างที่ต่างกัน

และนี่คือรูปภาพที่อธิบายง่ายๆ เกี่ยวกับรูปแบบของภาพ 3D แบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ผู้ค้นพบรูทเบียร์ (Root beer)


รูทเบียร์ เป็นเครื่องดื่มประเภทซอฟท์ดริงก์ หรือ เครื่องดื่มที่ปราศจากแอลกอฮอล์ และเป็นผลงานการทดลองวิทยาศาสตร์ของ "ชาร์ลส์ เอลเมอร์ ไฮร์ส" (Charles Elmer Hires) เภสัชกรชาวเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2394 เขาทำงานและศึกษาด้านเภสัชกรรมมาตั้งแต่อายุ12 ปี

เดิมทีผลงานการทดลองวิทยาศาสตร์นี้ เขาต้องการทดลองเพื่อให้ได้ยาที่เขาต้องการ ด้วยการหมักผลเบอร์รีกับสมุนไพรต่างๆ แต่ผลกลับปรากฏว่าได้น้ำรูทเบียร์แทน โดยเขานำมาจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2412 และเป็นที่รู้จักแพร่หลายในเวลาต่อมา

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
รูทเบียร์ได้รับความนิยมอันดับเป็นอันดับหนึ่ง แม้ในงานสังสรรค์รื่นเริงของเกษตรกร ชาวไร ชาวนา ในสหรัฐอเมริกา ที่นิยมนำเครื่องดื่มมาร่วมกันนั้น รูทเบียร์ก็ถือเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

วิทยาศาสตร์บนไม้กวาดของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter)

แฮร์รี่ พอตเตอร์ขึ้นบินครั้งแรกด้วยไม้กวาดของโรงเรียนฮอกวอตส์ในวิชาฝึกบินของมาดามฮูช แต่ไม้กวาดด้ามแรกที่เป็นของเขาเอง คือ "นิมบัสสองพัน" ส่วนไม้กวาดด้ามที่ 2 ของเขา คือ "ไฟร์โบลต์" ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุดถึง 240 ก.ม./ช.ม. และสำหรับแฟนๆ ของแฮร์รี่ พอตเตอร์ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าฉากควิดดิช เกมส์กีฬาของเหล่าพ่อมดแม่มดที่ใช้ไม้กวาดเป็นพาหนะนั้น เป็นฉากที่ตื่นตาตื่นใจไม่น้อย แล้วมันจะมีโอกาสเป็นความจริงได้บ้างหรือไม่?

จากหลักการในหนังสือ "วิทยาศาสตร์ในแฮร์รี่พอตเตอร์" (The Science of Harry Potter) ของ Roger Highfield อธิบาย ดังนี้

คนที่สามารถล่องลอยบนอากาศได้ ต้องขึ้นอยู่กับการเอาชนะแรงโน้มถ่วงด้วยการสร้างพลังแม่เหล็กที่สมบูรณ์ ดังที่ Andre Geim จากฮอลแลนด์ ได้ทดลองยกกบตัวเล็กให้ลอยกลางอากาศ ด้วยพลังแม่เหล็กจากการใช้รูปแบบของสภาวะแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diamagnetism (วัตถุที่เมื่อนำแม่เหล็กเข้าใกล้ จะเกิดแรงผลักอ่อนๆ ออกนอกสนามแม่เหล็ก เมื่อนำแม่เหล็กออกไป คุณสมบัติแม่เหล็กนี้ก็หายไปด้วย)

การยกกบให้ลอยขึ้นสูงสองเมตรในกระบอกทดลอง ต้องใช้สนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูงกว่าสนามแม่เหล็กธรรมชาติของโลกถึง 1 แสนเท่า และสูงกว่าแม่เหล็กติดตู้เย็นประมาณ 10 ถึง 100 เท่า แต่ปัญหาคือ ร่างกายมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอทั่วร่างกาย เนื้อหลังกับกระดูกจึงถูกดึงขึ้นและรั้งลงไปทั่วร่างกาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น หากยังไม่มีทฤษฎีอื่นมารองรับ หรือวิทยาการที่ก้าวไกลมากขึ้น
อย่าเพิ่งทดลองบินด้วยทฤษฎีนี้จะดีกว่า

ทานฟาสต์ฟู้ดมากเกินไป อาจทำให้คะแนนสอบต่ำลง

การทานอาหารฟาสต์ฟู้ดมากเกินไปไม่เพียงแค่ทำให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเสียแล้ว
แต่ยังทำให้ผลคะแนนสอบต่ำลงด้วย จากงานวิจัยของคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย
แวนเดอบิลท์ ที่รัฐเทนเนสซี ที่ทำการศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน
5,500 คน โดยการติดตามพฤติกรรมการกินของเด็กนักเรียน อายุ 10-11 ขวบ
แล้วเปรียบเทียบกับผลการทดสอบวิชาการอ่าน และวิชาคณิตศาสตร์

ในภาพรวมเด็กนักเรียนจะทำคะแนนในการทดสอบได้ระหว่าง 58-181 คะแนน
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 141.5 คะแนน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนครั้งที่ทานฟาสต์ฟู้ด
พบว่า นักเรียนเกินกว่าครึ่งที่ทานฟาสต์ฟู้ดมากกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ก่อนสอบ
ได้คะแนนสอบต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนี้

คนที่ทาน 4-6 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำคะแนนสอบได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 7 คะแนน, คนที่ทาน 1 ครั้งต่อวัน ทำคะแนนสอบได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 16 คะแนน และคนที่ทาน
3 ครั้งต่อวัน ทำคะแนนสอบต่ำลงถึง 19 คะแนน จากงานวิจัยครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า
การทานฟาสต์ฟู้ดที่บ่อยมากขึ้นนั้น มีความสัมพันธ์กับการที่คะแนนสอบต่ำลง

แม้ว่างานวิจัยนี้จะไม่ได้วิจัยถึงผลกระทบต่อสมองโดยตรง เพียงแต่วัดจากคะแนน
ทำสอบ และความบ่อยในการทานฟาสต์ฟู้ดเท่านั้น แต่เพื่อความไม่ประมาท
ควรทานอาหารที่มีคุณค่าในแต่ละวันให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อประโยชน์
สูงสุดต่อระบบการทำงานของร่างกาย

วิธีรักษาสุขภาพช่วงสอบ


ในช่วงการสอบมักมีนักศึกษาป่วยฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก สาเหตุการป่วยที่พบบ่อย
คือ นอนดึก หรือไม่ได้นอน ไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า ปวดท้องประจำเดือน
ปวดท้องโรคกระเพาะ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เป็นลม

เพื่อหลีกเลี่ยงการป่วยดังกล่าว ควรเตรียมตัวก่อนสอบให้พร้อม เช่น ทบทวนตำราวิชา
ที่จะสอบล่วงหน้า พักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึกเกินไปหรืออดนอน รับประทาน
อาหารให้ครบทุกมื้อ โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้าวันที่จะสอบสำคัญมาก

ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือของหมักดอง
เพราะอาจทำให้เกิดอาการอาหารเปินพิษ
คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรงได้

ส่วนผู้มีโรคประจำตัว เช่น ลมชัก หอบหืด
ควรปรึกษาแพทย์ รับประทานยาตามเวลา
พักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด


Lychee

         The lychee is the most renowned of a group of edible fruits of the soapberry family, Sapindaceae. It is botanically designated Litchi chinensis Sonn. (Nephelium litchi Cambess) and widely known as litchi and regionally as lichi, lichee, laichi, leechee or lychee. Professor G. Weidman Groff, an influential authority of the recent past, urged the adoption of the latter as approximating the pronunciation of the local name in Canton, China, the leading center of lychee production. I am giving it preference here because the spelling best indicates the desired pronunciation and helps to standardize English usage. Spanish and Portuguese-speaking people call the fruit lechia; the French, litchi, or, in French-speaking Haiti, quenepe chinois, distinguishing it from the quenepe, genip or mamoncillo of the West Indies, Melicoccus bijugatus, q.v. The German word is litschi.


Description

   The lychee tree is handsome, dense, round-topped, slow-growing, 30 to 100 ft (9-30 m) high and equally broad. Its evergreen leaves, 5 to 8 in (12.5-20 cm) long, are pinnate, having 4 to 8 alternate, elliptic-oblong to lanceolate, abruptly pointed, leaflets, somewhat leathery, smooth, glossy, dark-green on the upper surface and grayish-green beneath, and 2 to 3 in (5-7.5 cm) long. The tiny petalless, greenish-white to yellowish flowers are borne in terminal clusters to 30 in (75 cm) long. Showy fruits, in loose, pendent clusters of 2 to 30 are usually strawberry-red, sometimes rose, pinkish or amber, and some types tinged with green. Most are aromatic, oval, heart-shaped or nearly round, about 1 in (2.5 cm) wide and 1 1/2 in (4 cm) long; have a thin, leathery, rough or minutely warty skin, flexible and easily peeled when fresh. Immediately beneath the skin of some varieties is a small amount of clear, delicious juice. The glossy, succulent, thick, translucent-white to grayish or pinkish fleshy aril which usually separates readily from the seed, suggests a large, luscious grape. The flavor of the flesh is subacid and distinctive. There is much variation in the size and form of the seed. Normally, it is oblong, up to 3/4 in (20 mm) long, hard, with a shiny, dark-brown coat and is white internally. Through faulty pollination, many fruits have shrunken, only partially developed seeds (called "chicken tongue") and such fruits are prized because of the greater proportion of flesh. In a few days, the fruit naturally dehydrates, the skin turns brown and brittle and the flesh becomes dry, shriveled, dark-brown and raisin-like, richer and somewhat musky in flavor. Because of the firmness of the shell of the dried fruits, they came to be nicknamed "lychee, or litchi, nuts" by the uninitiated and this erroneous name has led to much misunderstanding of the nature of this highly desirable fruit. It is definitely not a "nut", and the seed is inedible.

Origin and Distribution

    The lychee is native to low elevations of the provinces of Kwangtung and Fukien in southern China, where it flourishes especially along rivers and near the seacoast. It has a long and illustrious history having been praised and pictured in Chinese literature from the earliest known record in 1059 A.D. Cultivation spread over the years through neighboring areas of southeastern Asia and offshore islands. Late in the 17th Century, it was carried to Burma and, 100 years later, to India. It arrived in the West Indies in 1775, was being planted in greenhouses in England and France early in the 19th Century, and Europeans took it to the East Indies. It reached Hawaii in 1873, and Florida in 1883, and was conveyed from Florida to California in 1897. It first fruited at Santa Barbara in 1914. In the 1920's, China's annual crop was 30 million lbs (13.6 million kg). In 1937 (before WW II) the crop of Fukien Province alone was over 35 million lbs (16 million kg). In time, India became second to China in lychee production, total plantings covering about 30,000 acres (12,500 ha). There are also extensive plantings in Pakistan, Bangladesh, Burma, former Indochina, Taiwan, Japan, the Philippines, Queensland, Madagascar, Brazil and South Africa. Lychees are grown mostly in dooryards from northern Queensland to New South Wales, but commercial orchards have been established in the past 20 years, some consisting of 5,000 trees.

Madagascar began experimental refrigerated shipments of lychees to France in 1960. It is recorded that there were 2 trees about 6 years old in Natal, South Africa, in 1875. Others were introduced from Mauritius in 1876. Layers from these latter trees were distributed by the Durban Botanical Gardens and lychee-growing expanded steadily until in 1947 there were 5,000 bearing trees on one estate and 5,000 newly planted on another property, a total of 40,000 in all.

In Hawaii, there are many dooryard trees but commercial plantings are small. The fruit appears on local markets and small quantities are exported to the mainland but the lychee is too undependable to be classed as a crop of serious economic potential there. Rather, it is regarded as a combination ornamental and fruit tree.

There are only a few scattered trees in the West Indies and Central America apart from some groves in Cuba, Honduras and Guatemala. In California, the lychee will grow and fruit only in protected locations and the climate is generally too dry for it. There are a few very old trees and one small commercial grove. In the early 1960's, interest in this crop was renewed and some new plantings were being made on irrigated land.

At first it was believed that the lychee was not well suited to Florida because of the lack of winter dormancy, exposing successive flushes of tender new growth to the occasional periods of low temperature from December to March. The earliest plantings at Sanford and Oviedo were killed by severe freezes. A step forward came with the importation of young lychee trees from Fukien, China, by the Rev. W.M. Brewster between 1903 and 1906. This cultivar, the centuries-old 'Chen-Tze' or 'Royal Chen Purple', renamed 'Brewster' in Florida, from the northern limit of the lychee-growing area in China, withstands light frost and proved to be very successful in the Lake Placid area–the "Ridge" section of Central Florida.

Layered trees were available from Reasoner's Royal Palm Nurseries in the early 1920's, and the Reasoner's and the U.S. Department of Agriculture made many new introductions for trial. But there were no large plantings until an improved method of propagation was developed by Col. William R. Grove who became acquainted with the lychee during military service in the Orient, retired from the Army, made his home at Laurel (14 miles south of Sarasota, Florida) and was encouraged by knowledgeable Prof. G. Weidman Groff, who had spent 20 years at Canton Christian College. Col. Grove made arrangements to air-layer hundreds of branches on some of the old, flourishing 'Brewster' trees in Sebring and Babson Park and thus acquired the stock to establish his lychee grove. He planted the first tree in 1938, and by 1940 was selling lychee plants and promoting the lychee as a commercial crop. Many small orchards were planted from Merritt's Island to Homestead and the Florida Lychee Growers' Association was founded in 1952, especially to organize cooperative marketing. The spelling "lychee" was officially adopted by the association upon the strong recommendation of Professor Groff.

In 1960, over 6,000 lbs (2,720 kg) were shipped to New York, 4,000 lbs (1,814 kg) to California, nearly 6,000 lbs (2,720 kg) to Canada, and 3,900 lbs (1, 769 kg) were consumed in Florida, though this was far from a record year. The commercial lychee crop in Florida has fluctuated with weather conditions, being affected not only by freezes but also by drought and strong winds. Production was greatly reduced in 1959, to a lesser extent in 1963, fell drastically in 1965, reached a high of 50,770 lbs (22,727 kg) in 1970, and a low of 7,200 lbs (3,273 kg) in 1974. Some growers lost up to 70% of their crop because of severe cold in the winter of 1979-80. Of course, there are many bearing trees in home gardens that are not represented in production figures. The fruit from these trees may be merely for household consumption or may be purchased at the site by Chinese grocers or restaurant operators, or sold at roadside stands.

Though the Florida lychee industry is small, mainly because of weather hazards, irregular bearing and labor of hand-harvesting, it has attracted much attention to the crop and has contributed to the dissemination of planting material to other areas of the Western Hemisphere. Escalating land values will probably limit the expansion of lychee plantings in this rapidly developing state. Another limiting factor is that much land suitable for lychee culture is already devoted to citrus groves.

Varieties

Professor Groff, in his book, The lychee and the lungan, tells us that the production of superior types of lychee is a matter of great family pride and local rivalry in China, where the fruit is esteemed as no other. In 1492, a list of 40 lychee varieties, mostly named for families, was published in the Annals of Fukien. In the Kwang provinces there were 22 types, 30 were listed in the Annals of Kwangtung, and 70 were tallied as varieties of Ling Nam. The Chinese claim that the lychee is highly variable under different cultural and soil conditions. Professor Groff concluded that one could catalog 40 or 50 varieties as recognized in Kwangtung, but there were only 15 distinct, widely-known and commercial varieties grown in that province, half of them marketed in season in the City of Canton. Some of these are classed as "mountain" types; the majority are "water types" (grown in low, well-irrigated land). There is a special distinction between the kinds of lychee that leak juice when the skin is broken and those that retain the juice within the flesh. The latter are called "dry- and -clean" and are highly prized. There is much variation in form (round, egg-shaped or heart-shaped), skin color and texture, the fragrance and flavor and even the color, of the flesh; and the amount of "rag" in the seed cavity; and, of prime importance, the size and form of the seed.

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อันตรายของแก๊สน้ำตา


แก๊สน้ำตา หรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า “tear gas” เป็นคำรวมๆ ที่หมายถึง 
สารเคมีที่ออกฤทธิ์ให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุตา จนกระทั่งมีน้ำตาไหลออกมา 
แต่ความจริงแล้ว สามารถระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ทั้งที่ตา ทางเดินหายใจ 
ทางเดินอาหาร รวมทั้งผิวหนังด้วย โดยส่วนใหญ่ การใช้แก๊สน้ำตา 
มีจุดประสงค์เพื่อสลายการชุมนุมของฝูงชนจำนวนมาก 

ฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา 
          แก๊สน้ำตา มีผลระคายเคืองต่ออวัยวะต่าง ๆ คือ ตา เยื่อบุจมูกและทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องปาก และผิวหนัง โดยทำให้เกิดอาการดังนี้

          ตา : ทำให้มีน้ำตาไหล แสบตา หนังตาบวม เยื่อบุตาบวม ลืมตาไม่ขึ้น 
ต้องกระพริบตาตลอด รวมทั้งอาจทำให้ตามองไม่เห็น (ตาบอดชั่วคราว) 
และอาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้ หากถูกกระแทกโดยตรง 
หรืออาจมีเลือดออกในลูกตา หรือติดเชื้อที่ตาในภายหลังได้

          จมูก : ทำให้แสบจมูก และมีน้ำมูกไหล

          ปาก และทางเดินอาหาร : ทำให้แสบปาก น้ำลายไหล และอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียได้
        
  ทางเดินหายใจ : ทำให้มีอาการไอ เจ็บคอ จาม มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก 
อาจมีหลอดลมตีบจนหายใจไม่ออก โดยเฉพาะในคนไข้ที่เป็นโรคหอบหืด 
หรือถุงลมโป่งพองอยู่ก่อน (จึงต้องระวังให้มากในคนกลุ่มนี้) 
และอาจมีปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ได้ใน 12-24 ชั่วโมง หากได้รับในปริมาณที่มาก

          ผิวหนัง : หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแสบ และบวมแดง หากสัมผัสนาน 
อาจเหมือนถูกไฟไหม้ นอกจากนี้อาจมีผิวหนังอักเสบจากการแพ้ (contact dermatitis) ได้ 
ซึ่งทำให้เกิดผื่นคัน โดยเกิดหลังจากสัมผัสไปแล้ว 72 ชั่วโมง

          อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ : อาการปวดศีรษะ ง่วงซึม, เจ็บหน้าอก ความดันเลือดตก เป็นต้น
          การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา จะออกฤทธิ์ในทันทีทันใดที่สัมผัส (0-30 วินาที) และจะคงอยู่นานประมาณ 10-30 นาทีหลังจากพ้นการสัมผัสนั้น แต่อาจมีอาการอยู่นานได้ถึง 24 ชั่วโมงขึ้นไป (บางทีนานถึง 3 วัน) และอาการจะรุนแรง และเป็นอันตรายมากขึ้น หากได้รับในปริมาณที่เข้มข้นมากหรืออยู่ในบริเวณที่มิดชิด ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ

การรักษา 
          การปฏิบัติที่สำคัญอันดับแรก คือ ต้องหยุดสัมผัสสารเคมีให้ได้ก่อน อาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นเองโดยที่ไม่ต้องให้การรักษาพิเศษอะไร ซึ่งในขั้นต้นได้แก่

          การหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตานั้น ไปสู่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทที่สะดวก และมีลมพัดให้สารเคมีนั้นกระจายออกไป

          ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก และใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด (2 ชั้นยิ่งดี) โดยพยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียก เพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกายได้