แมลงสาบไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออาศัยอยู่บนพื้นผิวเรียบๆลื่นๆ และโล่งๆ โครงสร้างร่างกายของมันส่วนใหญ่สร้างมาเพื่ออาศัยอยู่ในพื้นที่ขรุขระ มีเศษวัสดุอย่างเช่น ใบไม้ กิ่งไม้ กระจัดกระจายไปทั่ว เมื่อมันมาอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งมีแต่พื้นเรียบๆลื่นๆ และโล่งๆ ก็จะทำให้มันมีโอกาสมากที่จะพลิกกลับลำตัวไม่ได้ เมื่อเผอิญหงายท้องไป ดังนั้นอาจบอกได้ว่า บ้านใครที่สะอาดๆ แมลงสาบมีโอกาสจะตายเองมากกว่า
อย่าง สุดท้าย และเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราพบแมลงสาบหงายท้องตาย นั่นก็คือ แมลงสาบที่พบหงายท้องตาย มักตายจากยาฆ่าแมลง ซึ่งยาฆ่าแมลงนี้ จะมีผลต่อระบบประสาทของแมลงสาบ โดยไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cholinesterase เอนไซม์ชนิดนี้เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่สลาย Acetylcholine (ACh) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท เมื่อเอนไซม์ไม่ทำงาน มี ACh มากเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอัมพาต ขาของแมลงสาบจะงอเข้าหากัน เกิดเป็นความไม่สมดุล และทำให้แมลงสาบหงายท้องตายนั่นเองวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ดื่มชาอย่าใส่นม !!!!!!!
หลังจากที่กระแสรัก สุขภาพมาแรงมากในระยะหลัง ๆ มานี้ เลยทำให้อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพต่าง ๆ พลอยได้รับความนิยมตามไปด้วย ซึ่ง ชา นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มสุขภาพ ที่เมื่อดื่มในปริมาณที่พอดีแล้วจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก
อย่างไร ก็ดีนักวิจัยจากโรงพยาบาลคาริตของมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี พบว่า นมทำให้ประโยชน์ของชาในการปกป้องโรคหัวใจหมดไป ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดทั่วโลกรองจากน้ำ ดังนั้น ประโยชน์ของชาจึงมีความสำคัญในแง่สาธารณสุข กระนั้น จนถึงขณะนี้กลับไม่มีใครรู้ว่า การเติมนมลงไปในชาจะให้ผลอย่างไร
จากงานวิจัยหลายชิ้นนั้นแสดงให้เห็น ว่า ชาช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และทำให้เส้นเลือดใหญ่ขยาย หลาย ๆ คนก็มีความชอบในการดื่มชาที่แตกต่างกันไป บ้างก็ชอบดื่มชาแบบเย็น บ้างก็ชอบดื่มชาแบบร้อน บ้างก็ชอบใส่นมลงไปในชาด้วย ซึ่งอันนี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
ดร.เวเร นา สแตงล์ ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจของโรงพยาบาลคาริต และทีมนักวิจัยพบว่า
โปรตีน casein ในนมทำให้ปริมาณสาร casein ที่ มีฤทธิ์ปกป้องโรคหัวใจ ลดลง นักวิจัยทีมนี้เชื่อว่า ผลการค้นพบซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารยูโรเปียน ฮาร์ต เจอร์นัล สามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดประเทศอย่างอังกฤษที่ประชาชนนิยมดื่มชาใส่นม จึงไม่มีสถิติว่าการดื่มชาช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยเปรียบเทียบผลต่อสุขภาพจากการดื่มน้ำอุ่น ชาแบบเติมนมและไม่เติมนมกับผู้หญิงสุขภาพดี 16 คน
โดย ใช้อุลตราซาวด์ดูเส้นเลือดใหญ่บริเวณข้อมือก่อนและหลังดื่มชา 2 ชั่วโมง สิ่งที่พบคือ ชาดำทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับการดื่มน้ำอุ่น แต่เมื่อเติมนมลงไป คุณประโยชน์นั้นจะหายไปทันที การทดสอบกับหนูได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน
กล่าวคือการกินชาดำ กระตุ้นให้ร่างกายของหนูผลิตสารไนตริกออกไซด์ที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว แต่เมื่อเติมนมลงไปในชา ปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้น นอกจากนั้น ยังเป็นที่รู้กัน ว่าชามีฤทธิ์ต่อต้านโรคมะเร็ง การศึกษานี้จึงอาจมีนัยต่อเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
"การที่นมทำให้กิจกรรมชีวภาพของสาร ประกอบในชาเกิดการเปลี่ยนแปลงจึง มีแนวโน้มว่า ผลในการต่อต้านเนื้อร้ายของชาอาจ มีปฏิกิริยากับนมเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาต่อไปเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มชากับการต่อต้านมะเร็ง ว่า การเติมนมส่งผลแบบเดียวกับกรณีนี้ด้วยหรือไม่" ดร.สแตงล์ทิ้งท้าย
อย่างไร ก็ดีนักวิจัยจากโรงพยาบาลคาริตของมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี พบว่า นมทำให้ประโยชน์ของชาในการปกป้องโรคหัวใจหมดไป ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดทั่วโลกรองจากน้ำ ดังนั้น ประโยชน์ของชาจึงมีความสำคัญในแง่สาธารณสุข กระนั้น จนถึงขณะนี้กลับไม่มีใครรู้ว่า การเติมนมลงไปในชาจะให้ผลอย่างไร
จากงานวิจัยหลายชิ้นนั้นแสดงให้เห็น ว่า ชาช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และทำให้เส้นเลือดใหญ่ขยาย หลาย ๆ คนก็มีความชอบในการดื่มชาที่แตกต่างกันไป บ้างก็ชอบดื่มชาแบบเย็น บ้างก็ชอบดื่มชาแบบร้อน บ้างก็ชอบใส่นมลงไปในชาด้วย ซึ่งอันนี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
ดร.เวเร นา สแตงล์ ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจของโรงพยาบาลคาริต และทีมนักวิจัยพบว่า
โปรตีน casein ในนมทำให้ปริมาณสาร casein ที่ มีฤทธิ์ปกป้องโรคหัวใจ ลดลง นักวิจัยทีมนี้เชื่อว่า ผลการค้นพบซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารยูโรเปียน ฮาร์ต เจอร์นัล สามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดประเทศอย่างอังกฤษที่ประชาชนนิยมดื่มชาใส่นม จึงไม่มีสถิติว่าการดื่มชาช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยเปรียบเทียบผลต่อสุขภาพจากการดื่มน้ำอุ่น ชาแบบเติมนมและไม่เติมนมกับผู้หญิงสุขภาพดี 16 คน
โดย ใช้อุลตราซาวด์ดูเส้นเลือดใหญ่บริเวณข้อมือก่อนและหลังดื่มชา 2 ชั่วโมง สิ่งที่พบคือ ชาดำทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับการดื่มน้ำอุ่น แต่เมื่อเติมนมลงไป คุณประโยชน์นั้นจะหายไปทันที การทดสอบกับหนูได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน
กล่าวคือการกินชาดำ กระตุ้นให้ร่างกายของหนูผลิตสารไนตริกออกไซด์ที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว แต่เมื่อเติมนมลงไปในชา ปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้น นอกจากนั้น ยังเป็นที่รู้กัน ว่าชามีฤทธิ์ต่อต้านโรคมะเร็ง การศึกษานี้จึงอาจมีนัยต่อเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
"การที่นมทำให้กิจกรรมชีวภาพของสาร ประกอบในชาเกิดการเปลี่ยนแปลงจึง มีแนวโน้มว่า ผลในการต่อต้านเนื้อร้ายของชาอาจ มีปฏิกิริยากับนมเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาต่อไปเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มชากับการต่อต้านมะเร็ง ว่า การเติมนมส่งผลแบบเดียวกับกรณีนี้ด้วยหรือไม่" ดร.สแตงล์ทิ้งท้าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)