วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทศกาล Easter


อีสเตอร์ (Easter) หมายถึง การระลึกถึงการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ หรือวันคืนพระชนม์ เข้าใจว่าอีสเตอร์มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ คือคำว่า Eastre ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาของฤดูใบไม้ผลิ ผู้รู้บางท่าน กล่าวว่าอาจมาจากภาษาเยอรมันโบราณ คือ คำว่า Eostarun ซึ่งแปลว่ารุ่งอรุณ

คำว่า “Easter (อีสเตอร์)” มาจากคำภาษาอังกฤษและเยอรมันเก่าแก่ว่า “Eastre” ซึ่งตรงกับภาษากรีกว่า “Paschal” หรือ “Passover” หรือ เทศกาลปัสกา นั่นเอง 


เทศกาลปัสกาคือเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกมาจากการเป็นทาสในอียิปต์
ย้อนไปเมื่อตอนที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่จะปล่อยชาวอิสราเอล พระเจ้าให้ทูตมรณะเข้าไปในครัวเรือนของอียิปต์และปลิดชีพบุตรหัวปีทั้งหมด ยกเว้นบ้านของชาวยิวที่นำโลหิตของแกะมาทาที่ประตูบ้าน ทูตมรณะจะผ่านเว้นไป จึงเรียกว่าการ Pass-over หรือ ภาษาฮีบรู เรียกว่า“Paschal” ภาษาไทยเรียกว่า “ปัสกา” หลังจากนั้นอีกประมาณ 1500 ปีพระเยซูเสด็จมาประสูติในโลก คือเทศกาลคริสต์มาสและทำพันธกิจของพระองค์ในแผ่นดินโลกจนมาถึงช่วงเทศกาลปัสกา พระเยซูก็ถูกจับไปทรมาน และสิ้นพระชนม์บนกางเขน โลหิตของพระองค์จึงเปรียบเสมือนเลือดแกะที่ช่วยชีวิตคนให้รอด เหมือนคืนวันปัสกา หลังจากนั้นในเช้าวันที่สาม พระองค์ฟื้นขึ้นจากความตาย ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ ต่อมาใน คศ.ที่ 320 ทางศาสนจักรได้ประกาศให้วันอีสเตอร์ คือ วันอาทิตย์แรกหลังวันเพ็ญใกล้ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์ใกล้วันปัสกา ซึ่งจะอยู่ช่วงระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 25 เมษายนของทุกปี
คริสเตียนถือว่า วันที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย เป็นวันที่สำคัญที่สุด เป็นหัวใจของข่าวประเสริฐ เพราะถ้าไม่มีวันอีสเตอร์ วันคริสตมาสหรือวันศุกร์ประเสริฐ ก็ไม่มีความหมาย เพราะถ้าพระเยซูเสด็จมาเกิด และสิ้นพระชนม์โดยไม่ได้เป็นขึ้นมาใหม่ พระองค์ก็จะเป็นพระเจ้าที่ตายแล้ว ไม่สามารถช่วยเราได้ แต่เมื่อพระองค์ได้ชัยชนะเหนือความตาย บรรดาผู้เชื่อจึงมีความหวังที่แน่นอน ที่จะเป็นขึ้นจากความตาย มีชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์สถานกับพระเจ้า ได้มีความมั่นใจในชีวิตนิรันดร์หลังความตาย
สิ่งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ว่า หลังจากพระเยซูคริสต์เป็นขึ้นมาจากความตาย พระองค์ได้ไปปรากฏในที่ต่างๆ หลายแห่ง ท่ามกลางสาวก และได้อยู่กับสาวกเป็นเวลา 40 วัน จึงได้เสด็จสู่สวรรค์ท่ามกลางพยานถึง 500 คน เมื่อพระองค์ตรัสสั่งสาวกให้ไปประกาศข่าวประเสริฐ จนถึงสุดปลายแผ่นดินโลก (มัทธิว 28:18-20) และพระองค์ทรงสัญญาว่าจะอยู่กับพวกเขาจนกว่าจะสิ้นยุด และยังสัญญาว่าจะกลับมารับพวกเขาไปอยู่กับพระองค์ พวกสาวกจึงได้ออกไปประกาศข่าวนี้ โดยไม่กลัวอันตรายใดๆ บ้างก็ถูกต่อต้าน ถูกจับทรมาน ถูกฆ่าตาย แต่พวกเขาก็ไม่หยุดยั้ง เพื่อยืนยันถึงสัจธรรมที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นความจริง โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ยิ่งนับวัน ผู้คนติดตามพระองค์ก็มีมากขึ้น พระองค์ได้สถาปนาอาณาจักรของพระองค์ด้วยความรัก ที่สละได้แม้ชีวิตของพระองค์เอง ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นความจริง
พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่หลายตอนด้วยกัน ก็ได้ยืนยันเรื่องการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ เช่น พระคัมภีร์ มัทธิว บทที่ ๒๘:๑-๑๑ “การคืนพระชนม์”
๑ ภายหลังวันสะบาโต เวลาใกล้รุ่งเช้า วันต้นสัปดาห์ มารีย์ชาวมักดาลา กับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์
๒ ในทันใดนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ยิ่งนัก มีทูตของพระเจ้าองค์หนึ่ง ได้ลงมาจากสวรรค์กลิ้งก้อนหินนั้นออกจากปากอุโมงค์ แล้วก็นั่งอยู่บนหินนั้น
๓ สัณฐานของทูตนั้นเหมือนแสงฟ้าแลบ เสื้อก็ขาวเหมือนหิมะ
๔ ยามที่เฝ้าอยู่นั้นกลัวทูตองค์นั้น จนตัวสั่น และเป็นเหมือนคนตาย
๕ ทูตสวรรค์นั้นจึงกล่าวแก่หญิงนั้นว่า “อย่ากลัวเลย เรารู้แล้วว่า พวกเจ้าทั้งหลายมาหาพระเยซูซึ่งถูกตรึงไว้ที่กางเขน
๖ พระองค์หาได้ประทับอยู่ที่นี่ไม่ ทรงเป็นขึ้นมาแล้วตามซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้นั้น มาดูที่ซึ่งพระองค์ได้บรรทมอยู่นั้น
๗ แล้วจงรีบไปบอกพวกสาวกของพระองค์เถิดว่า พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และพระองค์เสด็จไปยังแคว้นกาลิลีก่อนเจ้าทั้งหลาย เจ้าทั้งหลายจะเห็นพระองค์ที่นั่น นี่แหละเราก็บอกเจ้าแล้ว”
๘ หญิงเหล่านั้น ก็ไปจากอุโมงค์โดยเร็ว ทั้งกลัวทั้งยินดีเป็นอันมาก วิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์
๙ ดูเถิด พระเยซูได้เสด็จพบเขา และตรัสว่า “จงจำเริญเถิด” หญิงเหล่านั้นก็มากอดพระบาทนมัสการพระองค์
๑๐ พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า “อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังกาลิลี จะได้พบเราที่นั่น” ( และการคืนพระชนม์ในพระคัมภีร์เล่มอื่นๆใน พระธรรม มก.๑๖:๑-๘; ลก.๒๔:๑-๑๒; ยน.๒๐:๑-๑๐ ) “พยานผู้รู้เหตุการณ์ในวันอีสเตอร์”
หลังจากพระเยซูคืนพระชนม์เป็นขึ้นจากความตาย คือ “วันอีสเตอร์” ได้ทรงปรากฏแก่เหล่าสาวก หลายครั้งจนมีพยานหลักฐานมากมายยืนยันในวันนั้น
1.พยานบุคคล
1.1มารีย์ มักดารา (ยน.20.11-18 ) …….สาวกหญิงอดีตคือหญิงผิดประเวณี
1.2ผู้หญิงสามคน ( มก.16.1-8,มธ.28.1-10…..มารีย์มักดารา มารีย์ มารดาของยากอบและนางสะโลเม
1.3เปโตร ( ลก.24.34,1คร.15.5 )…..สาวกที่เป็นผู้นำของพระเยซู มีอีกชื่อคือเคฟาส
1.4สาวก 2 คน ( ลก.24.13-35 )…..เคลโลปัส กับเพื่อน
1.5สาวก 10 คน ( ลก.24.36-43,ยน.20.19-23 )….ยกเว้นยูดาส กับโธมัส
1.6สาวก 10 คนและโธมัส ( ยน.20.24-29 )….ยกเว้น ยูดาส
1.7สาวก 7 คน ( ยน.21.1-23 )….เปโตร โธมัส,นาธาเอล,ยากอบ,ยอห์น และสาวก อีก2 คน
1.8สาวก 500 คน (ยน.20.24-29 )
1.9ยากอบ ( 1 คร.15.7 )….น้องชายพระเยซู และเป็นผู้นำคริสตจักรยุคแรก
1.10อัครทูตทั้งหมด (1 คร.15.7,มก.16.14-20 )…..ที่เหลือ 11 คน หลังจากยูดาสทรยศและเสียชีวิตด้วยการแขวนคอตัวเองตายเพราะรู้สึกเสียใจที่ขายพระเยซู
1.11สเทเฟน ( กจ.7.54-60 )…..หนึ่งใน7มัคนายก ชุดแรก ของคริสตจักร
1.12เปาโล ( กจ.9.1-25,1 คร.15.8,22.17-21
1.13เปาโล ( กจ.22.17-21 )….เมื่อกลับใจใหม่ๆขณะอธิษฐาน
1.14เปาโล ( กจ.23.77 )……เมื่อทหารแยกท่านจากพวกสะดูสี และฟาริสี
1.15ยอห์น ( วว.13.18 )…..เมื่อท่านอยู่ที่เกาะปัทมอส
2.พยานวัตถุ ( ยน.20.3-9; มธ.27.66 )
2.1 ตราประทับของเจ้าหน้าที่โรมถูกทำลาย
2.2 หินใหญ่ปิดปากอุโมงค์เปิดออก
2.3 อุโมงค์ว่างเปล่าปราศจากพระศพ
2.4 ผ้าพันพระศพยังพันและวางอยู่ในรูปเดิม
3.พยานเอกสาร
3.1 จดหมายฝากในพระคัมภีร์ใหม่
3.2 พระคัมภีร์กิจการในพระคัมภีร์ใหม่ ข้อเขียนของนักประวัติศาสตร์ เช่น โจเซฟัส, อิกเนเชียส,จัสติน มาร์เตอร์, เทอร์ ทัลเลียน
“สัญลักษณ์น่าสนใจที่เกี่ยวกับวันอีสเตอร์”
1. ดอกไม้ : ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ คือ ดอกลิลลี่ หรือดอกพลับพลึงสีขาวบริสุทธิ์ ที่เบ่งบานยามรุ่งอรุณ มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์เมื่อแรกแย้ม
2. สวนดอกไม้ – ซึ่งสื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง สดใสชื่นบาน สวยงาม
3. ผีเสื้อ – สื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ เหมือนตัวดักแด้ที่ออกมาจากเปลือกหุ้ม และโบยบินขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี คล้ายกับองค์พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์
4. ไข่ ( Easter egg) หมายถึง ชีวิตใหม่ การหาไข่อีสเตอร์ กลาย เป็นธรรมเนียมประเพณีที่สนุกสนาน เคียงคู่ไปกับการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ จนยากที่จะตัดทิ้ง ทั้งๆที่ไข่ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับอีสเตอร์เลย เริ่มแรกเมื่อมีการใช้ไข่ในยุโรปสมัยโบราณ หมายถึง “ชีวิตใหม่” หรือ “ความอุดมสมบูรณ์ที่กลับมาอีกครั้งหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ” ชาวยุโรปเคยใช้ไข่กลิ้งไปตามท้องทุ่ง แล้วบนบานให้ทุ่งนาของตนมีผลิตผลบริบูรณ์ ต่อมาเมื่อผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์ได้ขยายเผยแผ่เข้าไปในยุโรป และในหลายๆประเทศยอมรับเชื่อเป็นสาวกของพระเยซู เมื่อถึงเทศกาลปัสกา หรือ อีสเตอร์ ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิพอดี เลยเอาไข่ที่เคยใช้แต่ก่อนแล้วมาผสมผสานด้วย ส่วนในปัจจุบันนี้ มีการทำช็อกโกแลตเป็นรูปไข่ลวดลายต่างๆ หรือ ทำไข่พลาสติกที่บรรจุขนมหวานไว้ข้างใน และมีการเอาไข่ต้มมาทาสี หรือ ไข่พลาสติกสีสันต่าง ๆ ไปซ่อนให้เด็กค้นหา โดยมีความหมายแฝงเร้นอยู่ว่าอีสเตอร์ คือ วันที่พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย และเสด็จออกจากอุโมงค์ฝังศพที่มีก้อนศิลามหึมาปิดอยู่นั้นถูกเปิดออก เหมือนดังที่ลูกไก่ได้เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวนั่นเอง
5. กระต่ายอีสเตอร์ (Easter Bunny) ก็เช่นเดียวกับ “ไข่” คือเป็นสัญลักษณ์ของ “ชีวิตใหม่” ธรรมชาติของกระต่ายจะออกลูกดกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ความหมายของกระต่ายจึงหมายถึงชีวิตใหม่มากกว่าการเน้น “การเป็นขึ้นจากความตาย” ส่วนตำนานที่สมัยใหม่หน่อย เกี่ยวกับกระต่ายมีดังนี้ ผู้หญิงคนหนึ่ง ซ่อนไข่อีสเตอร์ไว้สำหรับลูก ๆ ในช่วงกันดารอาหาร ในขณะที่เด็ก ๆ พบไข่นั้น มีกระต่ายตัวใหญ่กระโดดหนีออกไป พวกเขาก็เลยคิดว่า กระต่ายเป็นผู้นำเอาไข่มาให้ กระต่ายจึงมาเกี่ยวข้องกับไข่โดยปริยาย
6. ฤดูใบไม้ผลิ หมายถึง สัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่ ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ ที่ได้ผ่านพ้นฤดูหนาวที่มีหิมะตกหนาวเย็นนั้น ต้นไม้ทิ้งใบเสมือนตายไปแล้ว พอถึงฤดูใบไม้ผลิก็ผลิใบใหม่และต้นได้ฟื้นขึ้นมาใหม่หรือเปรียบเสมือนการเกิดใหม่นั่นเอง
7. กางเขน และ อุโมงค์ที่ว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นขึ้นมาจากความตาย
“ความหมายที่แท้จริงของอีสเตอร์ สำหรับคริสเตียน จึงหมายถึง”
• การที่ทำให้เรามีประสบการณ์ในการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์มากขึ้น
• ทำให้เราตระหนักถึงฤทธิ์อำนาจอันมิได้จำกัดของพระองค์มากขึ้น
• ทำให้คริสเตียนดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อมากขึ้น
• เรียนรู้ที่จะมีชีวิตที่บริบูรณ์ไปด้วยความรักต่อคนในครอบครัวและเพื่อนร่วมโลกมากขึ้น ดังที่พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างแก่เราบนกางเขนนั้นแล้ว
• และทำให้คริสเตียนดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่ ไม่ใช่ด้วยความสิ้นหวัง แต่ด้วยความหวังใจอยู่เสมอ ในวันต่อวันบนโลกชั่วคราวใบนี้ เพราะเมื่อถึงวันนั้น วันที่พระเยซูได้ทรงสัญญากับผู้เชื่อทุกคนว่า พระองค์จะเสด็จกลับมารับเราไปอยู่กับพระองค์ และที่นั่นจะไม่มีน้ำตาอีกต่อไป..

แม่ชีเทเรซา


ประวัติ

แม่ชีเทเรซา เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ที่เมืองสโกเปีย จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนีย) เป็นบุตรคนสุดท้องของบิดานิโกลา (Nikola) กับมารดาเดรน (Drane Bojaxhiu) ครอบครัวชนชั้นกลางเชื้อสายอัลเบเนีย เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด

ขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี [3]

ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว [4] แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผยแผ่คำสอนในเมืองดาร์จีลิง รัฐสิกขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองดาร์จีลิง

พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา (ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และแม่ชีเทเรซา ได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)

หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี


ภารกิจการกุศล


เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)

วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ

เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart) [5]

พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้

พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย

ไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน

ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองได้

ไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ

ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน

คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่น

พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน

บั้นปลายชีวิต


พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ทานก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง

การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้

เมื่อคุณแม่เห็นว่าตนคงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) จึงได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าอีกครั้ง ครั้งนี้เหล่าแม่ชีเห็นว่า คุณแม่เทเรซาควรได้พักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย จึงไม่คัดค้านในการลาออกของคุณแม่เทเรซา และไม่เทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา เพื่อให้คุณแม่ได้พักรักษาตัวไม่ต้องมีภารกิจ ดังนั้นแม่ชีนิรุมาราได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าแทนคุณแม่เทเรซา

5 เดือนครึ่งต่อมา ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" [6] ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย

ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย

ทัศนคติ และ แนวคิด ของแม่ชีเทเรซา

ฉันรู้ว่าพระเจ้าจะไม่มอบหมายงานที่หนักเกินไปสำหรับฉัน ฉันหวังเพียงว่า ท่านไม่วางใจในตัวฉันมากเกินไป
I know God will not give me anything I can't handle. I just wish
that He didn't trust me so much.
~Mother Teresa

พระเจ้าไม่ได้ต้องการให้เราสำเร็จ ท่านทรงเพียงต้องการให้เราเพียรพยายาม
God doesn't require us to succeed; he only requires that you try.
~Mother Teresa

บางครั้งเราคิดเพียงว่า ความยากจนเป็นแค่ความหิวโหย ไร้เสื้อผ้า ไม่มีบ้านช่อง
หากแต่ ความยากไร้สูงสุด เกิดจากการเป็นคนที่ไม่มีใครต้องการ ไม่มีใครคนรัก ไม่มีใครใส่ใจ
เราต้องเริ่มต้น ในบ้านของเราเอง ที่จะปรับแก้ความยากไร้เช่นนี้
We think sometimes that poverty is only being hungry, naked and homeless.
The poverty of being unwanted, unloved and uncared for is the greatest
poverty. We must start in our own homes to remedy this kind of poverty.
~Mother Teresa

จงแผ่ซ่านความรักในทุกหนแห่งที่เธอไป ให้ทุกคนที่เธอพานพบ เดินจากไปโดยมีความสุขเพิ่มขึ้น
Spread love everywhere you go. Let no one ever come to you
without leaving happier.
~Mother Teresa

เราได้ทำสิ่งต่างๆมากมาย เป็นเวลาแสนนาน ด้วยทรัพยากรอันน้อยนิด เมื่อมาถึงจุดนี้ เราจึงเก่งพอ ที่จะสามารถทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องมีอะไรเลย

We have done so much, for so long, with so little, we are now qualified to do anything with nothing. 
~Mother Teresa


วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส้มโอมือ ผลไม้เก่าแก่ตระกูลส้ม



คนไทยสมัยก่อนคุ้นเคยกับส้มมือที่นำมาใช้ทำเป็นยาดม เรียกกันว่า ‘ยาดมส้มโอมือ’ ที่มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ใช้สูดดมบรรเทาอาการเป็นลม หน้ามืดตาลาย แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่ายาดมส้มโอมือทำมาจาก “ผลส้มโอมือ” ซึ่งเป็นผลไม้หายากในปัจจุบัน วันนี้“108เคล็ดกิน”จึงขอพาไปทำความรู้จักผลไม้ชนิดนี้กัน

ส้มโอมือ หรือ ส้มมือ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกส้ม พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน ผลรูปร่างแปลกกว่าส้มอื่น มีรูปร่างเรียวยาวห้อยลงมาเป็นแฉก ๆ คล้ายนิ้วมือ บ้างก็ว่าคล้ายลำเทียน ขนาดใกล้เคียงกับนิ้วมือผู้ใหญ่ หรือใหญ่กว่า

ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ผลมีผิวขรุขระ มีร่องแฉกคล้าย นิ้วมือกว่า 10 นิ้ว เมื่อสุกผลมีสีเหลืองสด ภายในผลสีขาว ไม่มีเมล็ด เปลือกหนาคล้ายฟองน้ำอย่างส้มโอ เนื้อแห้งไม่ชุ่มน้ำ ผิวเปลือกมีน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะนาว

ส่วนเนื้อแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ มักไม่นิยมนำผลมารับประทานสดเหมือนส้มทั่วไป รสชาติจืดชืดไม่อร่อยแต่จะนำเปลือกไปใช้ประกอบในการปรุงอาหาร และทำยา เพราะมีสรรพคุณในการกระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ทำให้เลือดลมดี ไปสกัดทำน้ำมันหอมระเหย แก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลายเครียด ในประเทศจีนและญี่ปุ่นนิยมนำไปไว้ในห้องนอนและห้องน้ำเพื่ออบกลิ่น ขณะที่ในประเทศตะวันตกรู้จักสรรพคุณทางการแพทย์ของส้มโอมือมาช้านาน ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งชื่อส้มชนิดนี้เป็นภาษาละตินว่า medica

Welcome

Hello,Welcome to my blog .