วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ดินสอกับยางลบ


มีดินสอที่เขียนอย่างไรก็ไม่มีวันหมดอยู่แท่งหนึ่ง และก็มียางลบที่ลบอย่างไรก็ไม่มีวันหมดอยู่ก้อนหนึ่ง

ดินสอแท่งนั้นเป็นเพื่อนกับยางลบก้อนนั้น
ทั้งคู่ไปไหนมาไหนด้วยกันทำอะไรด้วยกัน
หน้าที่ของดินสอก็คือเขียน มันจึงเขียนทุกที่ทุกอย่างเสมอตลอดเวลาที่อยู่กับยางลบ
หน้าที่ของยางลบก็คือลบ มันจึงลบทุกอย่างที่ดินสอเขียนทุกที่ทุกเวลา

เวลาผ่านไปนานหลายสิบปี
ทุกอย่างก็ยังดำเนินเหมือนเดิมเรื่อยมา จนกระทั่ง
ดินสอเอ่ยกับยางลบว่า เรากับนายคงอยู่ด้วยกันไม่ได้แล้ว
ยางลบจึงถามว่า ทำไมล่ะ
ดินสอจึงตอบกลับไปว่า ก็เราเขียน นายลบแล้วมันก็ไม่เหลืออะไรเลย
ยางลบจึงเถียงว่า เราทำตามหน้าที่ของเรา เราไม่ผิดนะ
แต่สุดท้าย ทั้งคู่ก็ต้องแยกทางกัน.........

ดินสอพอแยกทางกับยางลบ
มันก็ดีใจที่สามารถเขียนอะไรได้ตามใจมัน
แต่พอเวลาผ่านไป......มันเริ่มเขียนผิด
ข้อความที่สวยๆ ที่มันเคยเขียนได้.....ก็สกปรกมีแต่รอยขีดทิ้งเต็มไปหมด....
ถึงตอนนี้.....มันคิดถึงยางลบจับใจ

ฝ่ายยางลบพอแยกทางกับดินสอ มันก็ดีใจที่ตัวมันไม่ต้องเปรอะเปื้อนอีกต่อไป
แต่...พอเวลาผ่านไป..มันกลับใช้ชีวิตอย่างไร้ค่า....เพราะไม่มีอะไรให้ลบ... มันคิดถึงดินสอจับใจ

ทั้งคู่จึงกลับมาอยู่ด้วยกันใหม่
คราวนี้ดินสอเขียนน้อยลง เขียนแต่สิ่งทีดีๆ
ส่วนยางลบ ก็ลบเฉพาะที่ดินสอเขียนผิดเท่านั้น

ถ้าเปรียบการเขียนเป็นการจำ
ดินสอในตอนแรกก็จำทุกเรื่องทั้งดีและไม่ดี
แต่พอหลังจากเกิดเหตุการณ์การแยกทางกันกับยางลบ มันก็เริ่มที่จะหัดเลือกจำแต่สิ่งที่ดีๆ

ส่วนการลบเปรียบเหมือนเป็นการลืม
ยางลบในตอนแรกก็ลืมทุกสิ่ง ทุกอย่างทั้งดีและไม่ดี
แต่ตอนหลังมันเลือกที่จะลืมแต่เรื่องไม่ดี ซึ่งนั่นคือการให้อภัยนั่นเอง

ฉะนั้นถ้าเปรียบการเดินทางของทั้งคู่ดุจมิตรภาพ
การจำแต่สิ่งดีๆ และยอมรับที่จะลืมหรือให้อภัยในสิ่งที่อาจจะผิดพลาดได้บ้าง มิตรภาพย่อมอยู่ ได้นานเท่านาน...



ปากกามาจากไหน


นอกจากตัวอักษรหรือตัวหนังสือซึ่งมนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้แล้ว " เครื่องมือ " หรือ " อุปกรณ์ " ที่ใช้สำหรับการขีดเขียนก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะกว่าที่เราจะเขียนหนังสือด้วย "ปากกา " หรือ " ดินสอ " ดังเช่นในปัจจุบันนี้ มนุษย์ต้องใช้เวลาในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการขีดเขียนเป็นเวลานานหลาย พันปี

ในยุคอดีตมนุษย์อาจจะใช้นิ้วจุ่มดินหรือหินสี ที่บดเป็นผงผสมกับยางไม้ หรือกาวจากหนังสัตว์ ขีดเขียนบนผนังถ้ำหรือเพิงผา ต่อมาอาจใช้ ดิน หิน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยการนำมาฝนหรือทำให้เป็นแท่งเพื่อความสะดวกในการขีดเขียน เช่น นำหินชนวนมาทำเป็นดินสอหิน สำหรับเขียนบนกระดานชนวน หรือการทำชอล์กจากผงแคลเซียมซัลเฟต จากเกลือจืด หรือยิปซัมผสมน้ำ แล้วทำให้เป็นแท่งเพื่อสะดวกในการใช้งาน เช่นในปัจจุบันนี้
วิวัฒนาการของการเขียน
จากการเขียนบนฝาผนังถ้ำ นำมาสู่การเขียนบนแผ่นไม้หรือแผ่นโลหะ ตลอดถึงการเขียนบนใบไม้ (เขียนหรือจารคัมภีร์โบราณลงบนใบลาน) มาจนถึงการประดิษฐ์กระดาษขึ้นใช้ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ มนุษย์ได้มีการพัฒนาเครื่องมือและกรรมวิธีในการเขียนมาอย่างต่อเนื่อง
ชาวอียิปต์โบราณเป็นชาติแรกที่ใช้แปรงเขียนหนังสือบนแผ่นกระดาษที่ทำจากต้น ปาปิรุส (papyrus) เป็นการเริ่มต้นวิธีการเขียนด้วยการปล่อยหมึกหรือสีบนแผ่นรองเขียน เช่นเดียวกับการเขียนหนังสือด้วยพู่กันของจีนและญี่ปุ่น ซึ่งอาจเป็นแนวความคิดเบื้องต้นที่พัฒนาไปสู่การประดิษฐ์ปากกา
ชาวกรีกโบราณประดิษฐ์ปากกาขึ้นจากต้นกกไส้กลวง โดยการปาดให้มีปากหลายๆแบบ ทำให้เขียนเส้นได้หลายขนาด ปากกานี้ไม่ใช้หมึกแต่ใช้เขียนบนผิวไม้ที่เคลือบขี้ผึ้งไว้ ทำให้เกิดรอยเป็นตัวอักษรบนผิวขี้ผึ้ง
"ปากกาแพร่หลายในอังกฤษ"
การนำวัสดุผิวเรียบมาเป็นสิ่งรองเขียนก่อให้เกิดการพัฒนา " เครื่องเขียน " ที่มีระสิทธิ ภาพสอดคล้องกับการใช้สอย มนุษย์เริ่มนำขนนกหรือขนห่านมาทำเป็น " ปากกา " เรียกว่า " ปากไก่ " สามารถเขียนได้คมชัดและเขียนติดต่อกันได้นาน ในศตวรรษที่ 5 " ปากไก่ " เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการเขียนหนังสือของชาวตะวันตก ในขณะที่ชาวตะวันออกยังนิยมใช้พู่กันไม้อยู่ แต่ทั้ง "ปากไก่" และ "พู่กัน" ไม่มีหมึกในตัวเอง ต้องจุ่มหมึกทุกครั้งที่ใช้เขียนทำให้เขียนได้ไม่สะดวก ต่อมาประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 มนุษย์เริ่มประดิษฐ์ " ปากกา " ที่มีปากเป็นโลหะและมีรอยผ่าตรงกลางปาก ทำให้เขียนได้นานโดยไม่ต้องจุ่มหมึกทุกครั้งที่เขียน
ในประเทศอังกฤษมีการทำปากกาชนิดนี้ขึ้นใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการผลิต " ปากกา " ที่ปลายปากทำด้วยวัสดุต่างๆกัน เช่น เขาสัตว์ เปลือกหอย เหล็กและทอง มีการผลิตกันมากขึ้นจนกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรม แข่งขันกันในเรื่องของความสวยงาม พร้อมกับประดิษฐ์กล่องและที่ใส่หมึกควบคู่ไปกับปากกาด้วย แม้ว่าจะได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถประดิษฐ์ปากกาที่มีหมึกในตัวเองได้
"บิดาแห่งการประดิษฐ์ปากกาหมึกซึม"
ปี ค.ศ. 1884 Lewis Edson Waterman ได้ผลิตปากกาที่มีหมึกในตัว เรียกว่า " ปากกาหมึกซึม " (Fountain pen ) ที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่า Waterman เป็นบิดาแห่งการประดิษฐ์ปากกาหมึกซึม มีการคิดค้นพัฒนาปากกาชนิดนี้ให้มีคุณภาพดีขึ้น สะดวกในการใช้งานและมีรูปทรงสวยงาม ผลิตในระดับอุตสาหกรรมทั้งในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ สืบต่อมาจนถึงในปัจจุบัน มีนักประดิษฐ์ปากกาที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี อาทิเช่น George Parker, Walter A. Sheaffer เป็นต้น และได้ครอบครองความเป็นจ้าวแห่งเครื่องมือสำหรับการเขียนมาโดยตลอดเป็นเวลา นานหลายสิบปี
ในปี ค.ศ. 1900 " ปากกาหมึกซึม " ได้พบคู่แข่งใหม่นั่นก็คือ " ปากกาลูกลื่น " ปากกาที่มีลูกกลิ้ง ( Ball ) กลมๆเล็กๆ อยู่ที่ปลายปาก เวลาเขียนลูกกลมๆเล็กๆนี้จะหมุน ( กลิ้ง ) ทำให้หมึกออกมาติดบนกระดาษ ปากกาชนิดนี้เกิดขึ้นมาประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว โดยชาวอเมริกาชื่อ จอห์น เอช. ลาวด์ เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ขีดเขียนบนพื้นที่หยาบๆ ซึ่งไม่ใช่กระดาษ
ปลายปี ค.ศ. 1930 นักหนังสือพิมพ์และศิลปินชาวฮังกาเรียน ชื่อ ไบโร ได้ประดิษฐ์ปากกาลูกลื่นขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่ง ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ไบโรได้เกิดแนวความคิดจากหมึกแห้ง ( Quick - drying ink ) ที่ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์นั้นใช้พิมพ์หนังสือ จึงคิดหาวิธีนำหมึกชนิดนี้มาบรรจุลงในปากกา โดยที่หมึกจะไม่ไหลและหย[คำไม่พึงประสงค์]อกมาจนเปื้อนกระดาษ ในที่สุดก็ประดิษฐ์ปากกาที่ใช้หมึกแห้งขึ้นมาจนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งก็คือ " ปากกาลูกลื่น " ( Ball - point pen ) สามารถใช้ขีดเขียนโดยไม่มีหมึกหยดและไหลเปรอะเปื้อนเหมือนปากกาหมึกซึมแบบ เก่า
เส้นทางของปากกาลูกลื่น
ปี ค.ศ. 1938 ไบโรได้ทำการจดทะเบียนสงวนลิขสิทธิ์ แต่ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมาก่อน เขาจึงได้หนีนาซีไปอยู่ที่ฝรั่งเศส สเปน และเร่ร่อนไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ไปอยู่ที่ประเทศอาร์เจนตินา
ต้นปี ค.ศ. 1940 ณ กรุงบัวโนส ไอเรส ไบโรได้รับความช่วยเหลือจากพี่ชายซึ่งเป็นนักเคมีผลิตปากกาลูกลื่นออก จำหน่าย แต่เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ เขาจึงขายลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์นี้ให้กับราชการทหารของอังกฤษและสหรัฐ อเมริกาในราคาไม่กี่เหรียญ ภายหลังลิขสิทธิ์ได้ถูกขายต่อให้กับบริษัท BIC ( ของฝรั่งเศส ) ทำการผลิตปากกาลูกลื่นยี่ห้อ BIC ออกจำหน่ายไปทั่วโลก ในระหว่างปี ค.ศ. 1950 - 1980 สามารถจำหน่ายได้กว่า 10 ล้านด้าม / วัน
ในขณะเดียวกับที่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงกลับไม่ประสบกับความ สำเร็จในชีวิต สิ่งที่คงเหลืออยู่ก็คือความภูมิใจในสิ่งประดิษฐ์ที่คนทั่วโลกรู้จักและใช้ ประโยชน์มาตราบเท่าทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

อันตรายจากเฟรนช์ฟราย



เฟรนช์ฟราย อาหารโปรดของวัยรุ่นในถึงยุคนี้ ใครๆ ก็คุ้นเคยกับคำว่า “เฟรนช์ฟราย“ หรือมันฝรั่งทอดชนิดแท่ง ที่ขายกันเกร่อตามร้านอาหารจานด่วนติดยี่ห้อฝรั่ง คงทราบกันแล้วว่ารสชาติของมันไม่มีอะไรมากไปกว่า “มัน” และ “เค็ม” ออกจะไม่ค่อยดีต่อสุขภาพเท่าไร แต่ก็ดูจะเป็นอาหารที่ถูกใจวัยรุ่นอยู่ไม่น้อย

ไม่ใช่กล่าวหากัน อย่างเลื่อนลอย แต่มีข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างทดสอบของ โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค เก็บตัวอย่างเฟรนช์ฟราย 3 ครั้ง จำนวน 30 ตัวอย่าง ในเดือนพฤศจิกายน 2552-เมษายน 2553 ผลทดสอบรายงานใน วารสารฉลาดซื้อ เดือนสิงหาคม 2553 พบว่าในการทดสอบปริมาณ เกลือหรือโซเดียม ในเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่ ที่เก็บเมื่อเดือนมีนาคม พบว่ามีปริมาณเกลือในระดับสูงและจัดว่ามีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิด อันตรายได้ หากบริโภคติดต่อกันในระยะยาว

การทดสอบ ไขมันทรานส์ ที่เป็นตัวเพิ่มระดับคอเลสเทอรอลชนิดไม่ดี (LDL : low-density lipoprotein) ในเลือด และลดระดับคอเลสเทอรอลชนิดดี (HDL : high-density lipoprotein) ในเลือดทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น พบว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการบริโภค

ส่วนการทดสอบค่าของกรด (Acid Value) ซึ่งจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของน้ำมันที่ใช้ในการทอดอาหารนั้น โดยหากค่าของกรดต่ำหมายความว่าน้ำมันที่ใช้มีคุณภาพดี และหากค่าของกรดสูงหมายความว่าน้ำมันผ่านการใช้ซ้ำมาหลายครั้ง ผลออกมาว่ายังอยู่ในข่ายต้องเฝ้าระวัง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับรับได้ แต่ บางร้านต้องระวัง

งานทดสอบครั้งนี้ไม่ได้บอกว่าห้ามกินเฟรนช์ฟราย แต่ถ้าดูภาพรวมกล่าวได้ว่าหากมีการ กินเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไต เนื่องจากได้รับโซเดียมเกินความ ต้องการของร่างกาย ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็ง ความดันโลหิต และหลอดเลือดหัวใจอันเนื่องมาจากการบริโภคน้ำมันทอดซ้ำ

ข้อแนะนำ ควรหลีกเลี่ยงการกินเฟรนช์ฟรายขนาดใหญ่เพราะยากที่จะกินให้หมด และเมื่อเสียดายก็จะกินมากเกิน ควรเลือกกินขนาดเล็ก และไม่ควรกินติดต่อกันเป็นประจำ ถ้าเป็นไปได้ควรบอกให้ เจ้าของร้านเปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารบ่อยๆ และใส่เกลือลงในเฟรนช์ฟรายให้น้อยลง ที่สำคัญอันสุดท้ายคือทำกินเองที่บ้านก็ได้ เพราะเราควบคุมทุกอย่างได้ทั้งปริมาณเกลือ คุณภาพน้ำมัน และอุณหภูมิในการทอด

ข้าวหนึ่งเมล็ด ประกอบด้วยอะไร



เมล็ดข้าวหนึ่งเมล็ดมีส่วนประกอบต่างๆ มากมาย แถมยังนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดอีกด้วย เราลองมาดูกันว่าในข้าวหนึ่งเมล็ดประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวมาจากท้องนาแล้ว ข้าวเปลือกจะถูกนำมากระเทาะเปลือกด้านนอกออกกลายเป็น ข้าวกล้อง และ เปลือกข้าว (แกลบ) เมล็ดข้าวกล้องเป็นสีน้ำตาลเรื่อมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ด (ผิวอ่อนๆ ที่หุ้มเมล็ดข้าว) ติดข้าวกล้องเป็นที่นิยมของคนรักสุขภาพ จะหุงรับประทานกับอาหารหรือนำไปเพาะเป็นเมล็ดข้าวกล้องงอกก็ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหารสูง และมีวิตามินมากมาย ส่วนเปลือกข้าวหรือแกลบนั้นนำไปปลูกต้นไม้และเก็บความเย็นให้น้ำแข็งก้อนใหญ่ๆ ได้ดี

เมื่อข้าวกล้องถูกขัดสีจะได้ข้าวขาว หรือข้าวสารรำ หรืเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวซึ่งติดออกมาระหว่างการขัดสีมักใช้เป็นอาหารสัตว์ และจมูกข้าว แหล่งรวมของวิตามินและสารอาหารต่างๆ มากมาย เหมาะกับการนำมาทำโจ๊กเพราะให้เนื้อสัมผัสนุ่ม ไม่ต้องเคี่ยวนาน นอกจากนี้ยังมี ปลายข้าว และ ข้าวหัก ที่ได้ระหว่างการขัดสี ชาวบ้านจะนำไปทำขนมจีน เพราะช่วยให้เส้นเหนียวไม่ขาดง่าย

กินแกงกระตุ้นความจำ



เครื่องเทศสำคัญในแกงจืดอย่างขมิ้น สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางระบบประสาทและลดผลกระทบจากดรคเสี่ยงการเกิดกับระบบเส้นประสาทอย่างอัลไซเมอร์ไดอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนี้นักวิจัยยังยืนยันถึงประสิทธิภาพยอดเยื่ยมของเครื่องเทศในการต่อสู่กับปฏิฏิริยาออกซิเดชั่น ศัตรูร้ายทำลายเซลล์สมองโดยเฉพาะในหน่วยความจำ เมื่อเราอายุมากขึ้น ปฎิกิริยาออกชิเดชั่นจะโจมตีเซลล์สมองมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่เปราะบางและไวต่อการถูกทำลายจากปฏิกิริยาดังกล่าวมากกว่าส่วนอื่นๆ

  สมองจำต้องสร้างยืนที่มีชื่อว่า Hemeoxygenase-1 (HO-1) ขึ้นมาเพื่อต่อกรกับออกซิเดชั่น และยีนตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมองถูกกระตุ้นเท่านั้น และสารกระตุ้นดังกล่าวก็พบมากในขมิ้นนั้นเอง นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคาราเนียในอิตาลี และนิวยอร์กยืนยันถึงประสิทธิภาพของสารสำคัญในขมิ้นที่มีผลต่อการกระตุ้นยีน HO-1 ว่าช่วยยับยั้งไม่ให้เซลล์สมองถูกทำลายโดยออกซิเดนท์ได้เป็นอย่างดี

  เมื่อสมองเกิดสภาวะออกซิเดชั่น เซลล์สมองจะเกิดการอักเสบและค่อยๆ ตายไปในที่สุด ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อของเส้นประสาทถูกทำลาย และนำไปสู่โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ขมิ้นจึงไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังบำรุงสองเราให้แยบคมตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในประเทศอินเดีย แหล่งเครื่องเทศสำคัญของโลกและนิยมใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอาหารมีการทดลองเพื่อค้นหาคุณประโยชน์ของขมิ้นที่นอกเหนือไปจากสรรพคุณในการลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์อย่างกว้างขวาง และพอว่าสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในขมิ้นเป็นกุยแจในการถนอมอาหาร นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมนูอาหารแต่โบราณหลายๆ จานมีขมิ้นเป็นส่วนรประกอบอีกทั้งยังได้สี กลิ่น และรสชาติเป็นของแถม

บรรดาเครื่องเทสต่างๆ นั้นมีสารปฎิวนะป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอาหารได้มากกว่า เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็ตน์ เม้ดสีในเครื่องเทศคือส่วนที่มีสารปฏิชีวนะดังกล่าว นักวิจัยจากศูนย์โรคอัลไซเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ ระบุว่า ขมิ้นมีสารสำคัญที่ไม่พบในเครื่องเทศชนิดอื่นในการยัยยั้งไม่ให้เกิดกลุ่มก้อนโปรตีนเล้กๆ ในสมองของผู้ป่วยอัลไวเมอร์ที่เรียกว่า Amyloid Plaques โดยสารในขมิ้นจะเข้าผ่ากลางกลุ่มโปรตีนดงักล่าวไม่ให้รวมตัวกัน

  ดร. Sally Frautschy ผู้ช่วยศาสตราจานย์วิชาแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอแนะนำให้รับประทานขมิ้นให้ได้ 200 มิลลิกรัมต่อครั้ง อาทิตย์ก้ถือว่าเพียงแก่ความต้องการของร่างกายแล้ว ขณะเดียวกัน เรายังพบสารแอนตี้ออกซิเดนในเครื่องเทศชนิดอื่น อย่างขิงและอบเชย ซึ่งให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับขมิ้น รวมทั้งช่วยเสริมสร้างสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์สมองได้อย่างดี

…รู้อย่างนี้แล้ว มื้อต่อไปต้องมีแกงขึ้นสำรับแล้วล่ะ